วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความเป็นมาของโรงเรียน ๕ ดาว


การดำเนินงานนโยบาย โรงเรียน ๕ ดาว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔
ความนำ
       พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒  และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๔๕ หมวด ๑ บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มาตรา ๖  กำหนดให้ การจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ อย่างได้สัดส่วน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา  การจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้น ได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่  มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา  ผู้ปกครอง  และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย  เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
                นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่สอง  โดยกำหนดเป้าหมาย คือ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทย  การเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา  และมีกรอบแนวทาง  ดังนี้  การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเรียนรู้ของคนไทยการเพิ่มโอกาสทางการศึกษา และการเรียนรู้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ของสังคมในการบริหารและจัดการศึกษา

                สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น  เขต 4  จึงขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวสู่การปฏิบัติ  โดยกำหนดนโยบายโครงการโรงเรียน    ดาว  ( Five  Stars  School )  ได้แก่
            ดาวที่ ๑ โรงเรียนคุณธรรม
       ดาวที่ ๒  นักเรียนอ่านออกเขียนได้ทุกคน
       ดาวที่ ๓  ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
       ดาวที่ ๔  สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพภายใน
ที่เข้มแข็ง
       ดาวที่ ๕  การจัดการเรียนรู้ภาษาที่สอง( ภาษาอังกฤษ )
วัตถุประสงค์
     ๒.๑ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ( พ.ศ. ๒๕๕๒ ๒๕๖๑ )
            ๒.๒ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔ ตามโครงการโรงเรียน ๕ ดาว                         
             ๑. โรงเรียนคุณธรรม
                    โรงเรียนสามารถจัดการศึกษา โดยยึดหลัก ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) อย่างบูรณาการ สอดคล้องกับบริบทของสังคมสามารถตรวจสอบได้ในเชิงระบบ ประกอบด้วย
ด้านปัจจัยนำเข้า (  Input )

องค์ประกอบหลัก
องค์ประกอบย่อย
๑.บุคลากรมีคุณลักษณะที่ดี
ผู้บริหาร/ครู
๒.การบริหารจัดการ
ระบบบริหาร


ด้านกระบวนการ ( Process)
องค์ประกอบหลัก
องค์ประกอบย่อย
๑.การเรียนการสอนที่
บูรณาการไตรสิกขา
๑.กระบวนการจัดการเรียนรู้
๒.การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้
๓.การวัดประเมินผล

๑.การเรียนการสอนที่
บูรณาการไตรสิกขา
๑.กระบวนการจัดการเรียนรู้
๒.การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้
๓.การวัดประเมินผล
๒.บรรยากาศและฏิสัมพันธ์
ที่เป็นกัลยาณมิตร
บรรยากาศส่งเสริม การสอนให้รู้ ทำให้ดู อยู่ให้เป็น


ด้านผลผลิต ( Output)
องค์ประกอบหลัก
องค์ประกอบย่อย
 พัฒนากาย ศีล และปัญญาอย่างบูรณาการ (ภาวนา ๔)
๑.กาย(กายภาพ) ๒.ศีล สังคม)
๓.จิต (จิตใจ อารมณ์) .ปัญญา


ผลกระทบ (Impact)
องค์ประกอบหลัก
องค์ประกอบย่อย
บ้าน  วัด โรงเรียน(บวร) ได้รับประโยชน์จากการพัฒนา
บ้าน  วัด โรงเรียน(บวร)

          ๒.  นักเรียนอ่านออกเขียนได้ทุกคน
                       เป้าหมายการอ่านออก
    - อ่านคำที่กำหนดให้อ่านได้ถูกต้องอย่างน้อย ร้อยละ ๗๐
      - อ่านประโยคที่กำหนดให้อ่านได้ถูกต้องอย่างน้อย ร้อยละ ๗๐
      - บอกความหมายของคำที่ที่กำหนดให้อ่านได้ถูกต้อง และจับใจความสำคัญ
        ได้อย่างน้อย ร้อยละ ๗๐
      - อ่านบทร้อยกรองที่กำหนดให้อ่านได้ถูกต้องอย่างน้อย ร้อยละ ๗๐(ตามหลักเกณฑ์การอ่าน)
            เป้าหมายการเขียนได้
      -  เขียนตามคำบอกที่กำหนดให้เขียนได้ถูกต้องอย่างน้อย ร้อยละ ๖๐
      -  เขียนประโยคที่กำหนดให้เขียนได้ถูกต้องอย่างน้อย ร้อยละ ๖๐
      -  เขียนบรรยายภาพที่กำหนดให้ถูกต้องและตรงตามภาพได้อย่างน้อย ร้อยละ ๖๐
             ๓.  ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                     มาตรฐานโรงเรียน ๕ ดาว
                     (ผลสัมฤทธิ์ ๕ กลุ่มสาระการเรียนรู้)
กลุ่มสาระ
การเรียนรู้
จำนวนนักเรียน
 (ร้อยละ)
เฉลี่ย
ร้อยละ
ภาษาไทย
๘๐
๗๐
คณิตศาสตร์
๘๐
๖๕
วิทยาศาสตร์
๘๐
๖๕
สังคมศึกษา
๘๐
๗๐
ภาษาต่างประเทศ
๘๐
๖๕


๔.     สถานศึกษามีระบบการประกันคุณภาพ
                  ภายในเข้มแข็ง
      โรงเรียนได้รับการประเมินผลภายใน ตามมาตรฐานประกันคุณภาพภายใน ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๕ มาตรฐาน  และ การดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายใน  ตามกฎกระทรวงว่าด้วย ระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการ การประกันคุณภาพการศึกษา  พ.ศ. ๒๕๕๓
                   .  การจัดการเรียนรู้ภาษาที่สอง 
                ( ภาษาอังกฤษ )
     The Fifth  Star :  The second  Language  Learning  Management  ( English Language)

มาตรฐานด้านปัจจัย

มาตรฐาน
ตัวชี้วัด
- สภาพแวดล้อมภายใน/ภายนอกห้องเรียน
- ด้านผู้บริหาร
- ด้านครูผู้สอน
- แหล่งการเรียนรู้
- กิจกรรม/โครงการ
- การนิเทศ กำกับ ติดตาม

มาตรฐานด้านผู้เรียน

มาตรฐาน
ตัวชี้วัด
.ภาษาเพื่อการสื่อสาร 
.ภาษาและวัฒนธรรม
.ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
. ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก 
- ภาษาอังกฤษในการสื่อสารตามสถานการณ์ต่าง ๆ
- การเลือกใช้คำ และประโยค ได้ถูกต้องตามกาลเทศะเหมาะสมกับสถานการณ์ โดย คำนึงถึงวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
- ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการสืบค้น ข้อมูล  วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ
- ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ
ในการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ


การขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ
 การรขับเคลื่อนนโยบายโครงการโรงเรียน ๕ ดาวของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น
เขต ๔ สู่ความสำเร็จ เกิดจากความร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังนี้

๑. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต ๔  ( สพป.ขก.๔ )
๒. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ( ก.พ.ท) คณะกรรมการติดตามตรวจสอบประเมินผลและนิเทศการศึกษา ( ก.ต.ป.น.) และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลกรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.)
. กลุ่มโรงเรียน
๔. โรงเรียนในสังกัด
๕. หน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

รางวัลแห่งความสำเร็จ
        รางวัลในแต่ละดาวที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
                นักเรียน                 ได้รับเกียรติบัตร
                ครู            ได้รับเกียรติบัตร/ ครูเสมาทองคำ
                ผู้บริหาร       เกียรติบัตร
                โรงเรียน       โล่ประกาศเกียรติคุณ
        รางวัลเกียรติยศ สำหรับโรงเรียนที่ผ่านการประเมิน
ทั้ง ๕ ดาว  จะได้รับ โล่ประกาศเกียรติคุณและเงินรางวัล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น